Header Ads

วิธีง่ายๆ เมื่อมีอาการปวดหลัง



ปวดหลัง (Backache) เป็นอาการปวดเมื่อย ตึง ร้าว หรือเจ็บที่หลัง สาเหตุหลักๆที่ทำให้ปวดหลัง เช่น กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ยืน เดินหรือนั่งไม่ถูกท่า ยกของหนักเกินไป อุบัติเหตุ การกระแทก การเล่นกีฬา หรือเป็นผลมาจากโรคต่าง 

อาการปวดหลังเป็นอาการที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างมาก เหมือนที่หลายคนอุทาน “ไม่ปวดไม่รู้หรอกไม่ใช่แค่กับผู้สูงอายุนะครับที่จะเผชิญกับอาการปวดหลัง แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนวัยทำงาน คนที่ทำงานนั่งเป็นประจำ หรือทำงานแบกหาม 



สาเหตุของอาการปวดหลัง


อาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การทำท่าทางที่ไม่ถูกต้องสะสมเป็นเวลานาน การเคล็ดขัดยอก การตึง การอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณหลัง ปัญหาของหมอนรองกระดูกปัญหาของกระดูกสันหลังและเส้นประสาท ปัญหาจากโรค หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น  ซึ่งอาการปวดหลังจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวัน


สาเหตุของอาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากปัจจัยต่าง  ต่อไปนี้


สาเหตุที่เกิดจากปัญหาของกระดูกสันหลัง สามารถเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนตัวของข้อกระดูกกล้ามเนื้อ หรือหมองรองกระดูก ตัวอย่างเช่น


หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative Discs) เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หดตัว หรือฉีกขาดทำให้กระดูกสันหลังชนหรือถูกัน มักเกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น


หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated หรือ Slipped Discs) หมอนรองกระดูกคือเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลัง มักเกิดการสึกหรอหรือฉีกขาด แล้วกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างหรือบริเวณสะโพก


หมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูน (Bulging Discs) เป็นการโป่งออกของหมองรองกระดูก มาดันโดนเส้นประสาท แต่อาการจะไม่มากเท่าหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท


กระดูกสันหลังตีบ เกิดขึ้นจากการที่กระดูกสันหลังหดตัวลง ทำให้กระดูกสันหลังและเส้นประสาทต้องรับน้ำหนักของร่างกายเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดอาการชาที่บริเวณขาและไหล่ มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ


กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) เป็นการเสื่อมสภาพหรืออักเสบที่ข้อต่อและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ประคองกระดูกสันหลัง


โรครากประสาทคอ (Cervical Radiculopathy) เกิดจากการได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปทำให้เกิดกระดูกงอกขึ้นมา


สาเหตุที่เกิดจากการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังหรือนำไปสู่ปัญหาของการเคลื่อนไหวร่างกายได้ เช่น


บาดเจ็บหรือเกิดการฉีกขาดที่เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง มักเป็นผลมาจากการยกของหนัก หรือการเล่นกีฬา

สาเหตุที่เกิดจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น


การนั่งห่อหลังที่โต๊ะทำงาน

ยกของหนักเกินไป

มีน้ำหนักตัวมาก

ไม่ออกกำลังกาย

สูบบุหรี่

ใส่รองเท้าส้นสูง

สาเหตุจากภาวะทางอารมณ์ ทั้งความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า สามารถทำให้เกิดความเครียดสะสมและส่งผลต่อกล้ามเนื้อได้


สาเหตุอื่น  อาการปวดหลังสามารถเป็นผลมาจากอาการหรือโรคต่าง  ได้ ดังต่อไปนี้


โรคข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นสาเหตุให้เกิดอาการตึง บวม และอักเสบ

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เกิดจากการเสื่อมหรือกระดูกถูกทำลาย พบมากในผู้สูงอายุ

โรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด (Ankylosing Spondylitis) เป็นโรคข้ออักเสบอีกชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อแนวกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) เป็นอาการที่เป็นมาตั้งแต่เกิด มักเริ่มพบอาการปวดในวัยกลางคน

การตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลัง

เนื้องอก เป็นสาเหตุมาจากโรคมะเร็ง แต่พบได้ไม่มากที่จะกระจายไปที่บริเวณหลัง

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน

กระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis) เป็นการติดเชื้อในกระดูกและหมอนรองกระดูก

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

นิ่วในไตและการติดเชื้อที่ไต


นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบสาเหตุการปวดหลังตามตำแหน่งของอาการได้ ดังนี้


บริเวณต้นคอ เป็นการปวดตั้งแต่ช่วงฐานกระโหลกศีรษะไปจนถึงช่วงไหล่ สามารถขยายไปถึงหลังช่วงบนและแขนได้อาจทำให้ไม่สามารถขยับคอและศีรษะได้เต็มที่ และส่งผลให้เกิดการปวดศีรษะได้ อาจเกิดจากการห่อตัว นั่งหรือยืนหลังไม่ตรง นอนผิดท่า รวมถึงการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน  โดยไม่พัก เป็นต้น

อาจเป็นการปวดแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือเป็นผลมาจากโครงสร้างที่ผิดปกติ โรคมะเร็ง กระดูกหัก หรือจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การทำท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การยกของหนักเกินไป นั่งหลังไม่ตรง ยืนในท่าเดิมหรือขับรถเป็นเวลานานบริเวณก้นและขา อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน ทำให้เส้นประสาทไซอาติก (Sciatica) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เริ่มตั้งแต่เชิงกรานยาว เชื่อมต่อไปที่ขาแต่ละข้างลงไปถึงเท้า เกิดระคายเคืองหรือถูกกระดูกสันหลังกดทับจะทำให้เกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาทไซอาติกนี้




การรักษาอาการปวดหลัง


การรักษาอาการปวดหลังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ หรือสาเหตุของการทำให้เกิดอาการปวดหลัง ถ้าเป็นอาการปวดในระยะสั้นคือเพิ่งปวดหรือปวดไม่มาก สามารถบรรเทาได้ด้วยตัวเองโดยการทาครีมบรรเทาอาการปวด หรือรับประทานยาแก้ปวดที่วางขายตามร้านขายยาทั่วไป หากใช้ยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของไตและเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้ ส่วนอาการปวดรุนแรงหรือเรื้อรังแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดควบคู่ไปกับการรักษารูปแบบอื่น เช่น การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม


การป้องกันอาการปวดหลัง


การป้องกันอาการปวดหลังสามารถทำได้หลายวิธี โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลัง การยืน การเดินการนั่ง หรือการนอน รวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น ทำให้ยากต่อการอักเสบหรืออ่อนล้าและไม่กลับไปสู่อาการปวดหลังอีก



การรักษาโดยด้วยตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


พักผ่อนและพยายามมองโลกในแง่บวก การพักผ่อนเป็นส่วนสำคัญของการฟื้นฟูจากอาการต่าง  ยิ่งกังวลก็อาจจะทำให้อาการหายช้าลง พยายามให้กำลังใจตัวเอง ผู้ที่มองโลกในแง่บวก มีแนวโน้มที่จะฟื้นฟูตัวเองจากอาการป่วยได้ดีกว่า

ปรับเปลี่ยนท่านอน การทำท่าเดิมนาน  อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง เช่น การนอนหงายเป็นเวลานานทำให้น้ำหนักของร่างกายไปกดลงที่กระดูกสันหลัง เพียงยกขาขึ้นและสอดหมอนไปใต้เข่า หรือนอนตะแคงแล้วใช้หมอนสอดไปที่ระหว่างขา จะสามารถช่วยลดน้ำหนักที่กดลง และบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี

การประคบร้อนหรือประคบเย็น บางคนพบว่ามีอาการดีขึ้นหลังอาบน้ำอุ่นหรือเอาถุงน้ำร้อนมาประคบในบริเวณที่มีอาการ หรือการประคบเย็นโดยนำน้ำแข็งห่อด้วยผ้าแล้วนำมาประคบ ก็สามารถบรรเทาอาการได้เช่นกัน

ออกกำลังกาย บางครั้งสาเหตุของอาการเจ็บหลังมาจากการยืนหรือนั่งผิดท่า หรือยกของหนักเกินไป หลายคนคิดว่านอนพักอยู่บนเตียงจะสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า แต่การออกกำลังกายที่ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางที่ถูกต้องและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อบริเวณหลัง จะสามารถบรรเทาอาการปวดได้ เช่น การว่ายน้ำ การเดินการปั่นจักรยาน การเล่นโยคะ การเล่นพิลาทิส การบริหารและการยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น

การรักษาโดยใช้ยา


การใช้ยาแก้ปวด ยาที่แพทย์มักจะจ่ายให้กับผู้ที่มีอาการปวดหลัง

ยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เช่น พาราเซตามอล ไทลินอล หรือยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโปรเฟน นาโปรเซน หรือยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่า ยาแก้ปวดถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของไตในผู้ป่วยบางรายได้ และเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้

หากการใช้ยาบรรเทาอาการปวดรูปแบบอื่น ไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์เข้าที่บริเวณรอบ  เส้นประสาทไขสันหลัง หรือในบริเวณที่ปวด ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบรอบเส้นประสาทไขสันหลังได้

การรักษาหลังการรักษาโดยใช้ยา


การทำกายภาพบำบัด 

เป็นการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ถูกวิธี และลดอาการบาดเจ็บให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำได้ตามปกติ โดยแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดหลังสำหรับการบาดเจ็บหรือมีปัญหาสุขภาพระยะยาว เช่น การปวดเรื้อรัง โรคข้ออักเสบ เป็นต้น วิธีการรักษาอาจแตกต่างกันออกไป เช่น การออกกำลังกาย การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและเงื่อนไขของผู้ป่วยแต่ละราย


การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy) 

มีจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก และพฤติกรรม โดยนักบำบัดจะวิเคราะห์ความคิดและพฤติกรรม และให้ผู้ป่วยลองคิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางบวก หลังจบการรักษาแล้วสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสิ่งต่าง  ได้ดีขึ้น

การรักษาโดยการผ่าตัด


การผ่าตัด 

ใช้รักษาอาการปวดหลังจากบางสาเหตุ เช่น การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง หรือปวดหลังที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทจนมีอาการอ่อนแรงที่ขาร่วมด้วย โดยทั่วไปมักจะเป็นทางเลือกท้าย   เมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่มีอาการดีขึ้น


อยากให้รักษากับแพทย์ทางเลือกก่อน


ไคโรแพรคติก (Chiropractic) 

เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของการดูแลสุขภาพ สรีระและโครงสร้างของมนุษย์ เป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยาและไม่มีการผ่าตัด มุ่งเน้นไปที่การจัดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกบริเวณกระดูกสันหลังโดยใช้มือ อาจได้ยินเสียงที่เกิดจากแก๊สบริเวณข้อต่อ ซึ่งเป็นปกติของการรักษาด้วยวิธีนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังหรือปวดคอจากการเคล็ดขัดยอกตอนยกของหนักเกินไป และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน หรือโรคไขข้ออักเสบ แต่การรักษาด้วยวิธีการนี้ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนว่าอาการปวดหลังส่วนใหญ่มาจากปัญหาของแนวกระดูกสันหลัง


การฝังเข็มการการนวดทุยหนาและยาจีน

 เป็นศาสตร์การรักษาทางเลือกรูปแบบหนึ่งของจีนโบราณ โดยจะฝังเข็มที่มีขนาดและความยาวแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วย ฝังลงไปตามจุดฝังเข็มที่ถูกพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึกใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟินส์(Endrophins) เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 20-40 นาทีต่อครั้ง 


1. ความเย็นชื้น 
เป็นสาเหตุที่พบบ่อย เช่น อาจเกิดจากอยู่กลางสายฝนเป็นเวลา นาน นั่งในที่ชื้นแฉะ ถูกลมโกรกใบหน้าขณะที่มีเหงื่อออก สวมใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้น ทำงานในที่ชื้นเย็น ชอบนอนบนพื้นปูน นำไปสู่อาการปวดหลังแบบความเย็นชื้นเนื่องจากทำให้เกิดชี่ติดขัดและเลือดคั่งในเส้นลมปราณ แต่หากความเย็นและชื้นสะสมอยู่เป็นเวลานาน จะแปรสภาพเป็นร้อน เกิดอาการปวดเอวแบบร้อนชื้น 


ความเย็นชื้น ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเอวหนัก  กล้ามเนื้อเกร็งแข็งเหมือนไม้กระดาน และเป็นมานานไม่หาย อาการปวดหนักไม่รุนแรง แต่รู้สึกหนักมากกว่า บิดเอวลำบาก อาจมีปวดขา อาการเลวลงในวันที่มีฝนตกและอากาศเย็น


โดยส่วนใหญ่แล้ว ความเย็นชื้น  หมอจีนจะเน้นขับความเย็น สลายความชื้น ทะลวงและอุ่นเส้นลมปราณ


2. ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง 
สาเหตุจากได้รับบาดเจ็บ บริเวณเส้นลมปราณ และกล้าม เนื้อที่บั้นเอว ทำให้การไหลเวียนของชี่และเลือดบริเวณดังกล่าวถูกรบกวนติดขัด เช่น ได้รับอุบัติเหตุจากตกที่สูงหรือถูกกระแทก ใช้งานบั้นเอวหนักมากเกินไป หรือเคลื่อนไหวผิดท่าผิดจังหวะ เป็นต้น 


ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง ปวดเอวเวลาบิดเอวไปมา ก้มหรือเงยหลังจะรู้สึกตึงหลัง ถ้าอาการรุนแรงจะบิดเอวซ้าย-ขวาลำบาก ปฏิเสธการกดบริเวณบั้นเอว บางครั้งจามหรือไอจะปวดมากขึ้นได้ อาจมีอาการปวดอยู่กับที่เหมือนเข็มทิ่มแทง 


ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง หมอจีนเน้นกระตุ้นเลือดให้ไหลเวียน เพื่อสลายเลือดคั่ง ปรับการไหล เวียนของชี่เพื่อระงับปวด


3. ไตพร่อง
สาเหตุจากร่างกายอ่อนแอแต่กำเนิด เจ็บป่วยเรื้อรัง คนสูงอายุ หรือมีกามกิจมากเกินไป ทำให้สารจำเป็นของไตพร่องและมีผลต่อภาวะขาดสารอาหารในกล้าม เนื้อ รวมทั้งเส้นลมปราณ 


ปวดเมื่อยล้าบริเวณเอวไม่ปวดมาก ขาอ่อนแรงร่วมด้วยเสมอ ถ้าทำงานมาก พักผ่อนไม่พอจะปวดหลังมากขึ้น การอยู่ในอิริยาบถนั่ง เดิน ยืน นอน ในท่าใดท่าหนึ่ง

นานหรือมากเกินไป จะปวดหลังมากขึ้นได้


ถ้าร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย แขนขาเย็น อสุจิหลั่ง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เมื่อกดนวดหรือพักผ่อน อาการจะดีขึ้น  แต่ทำงานหนักอาการจะมากขึ้น รู้สึกเกร็งท้องน้อย หน้าซีดขาว ลิ้นซีด ชีพจรเล็กจม จัดเป็น ไตหยางพร่อง แต่ถ้ามีอาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ปากคอแห้ง โหนกแก้มแดง มีอาการร้อนฝ่ามือฝ่าเท้า ปัสสาวะเหลือง  ลิ้นแดง ชีพจรเล็กเร็ว เป็นไตอินพร่อง 

ถ้าหากไตพร่องหมอจีนจะเน้น บำรุงไตเพื่อเสริมความแข็งแรงให้บั้นเอว เป็นหลักการทั่วไป กรณีไต หยางพร่อง บำรุงไตหยาง เพื่อเสริมความแข็งแรงให้บั้นเอว  กรณีไตอินพร่อง เลี้ยงบำรุงไตอินให้สมบูรณ์


จุดที่หมอตี้ แนะนำสำหรับคนที่ปวดหลัง เป็นประจำ




จุดไท่ซี 太溪 ช่วยบำรุงไต 

จุดนี้อยู่ด้านข้างตาตุ่มใน ตรงกึ่งกลางระหว่างขอบตาตุ่มใน กับเส้นร้อยหวาย ระดับเดียวกับยอดกระดูกตาตุ่มในสามารถรักษาอาการอื่นๆได้เช่น เป็นไข้ตัวร้อน มือเท้าเย็น ไข้เรื้อรัง ใจสั่น  นอนไม่หลับ อาเจียน ปวดฟัน เจ็บคอ ปวดท้อง หน้าซีด เบื่ออาหาร ผอมเหลือง ประจำเดือนไม่ปกติ กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ เสื่อมสมรรถนะทางเพศ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ อสุจิเคลื่อน ไตอักเสบ ขาเป็นอัมพาต




จุดเหว่ยจง 委中 บำรุงเส้นหลัง และกระเพาะปัสสาวะ

อยู่กึ่งกลางรอยพับเข่า จุดนี้จะช่วยคลายปวดหลังส่วนล่าง ขาลีบ ขาอ่อนแรง ปวดท้องน้อย ปัสสาวะขัด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และปัสสาวะรดที่นอนด้วยนะ


สองจุดนี่หมอตี่จะใช้ในการฝังเข็มตลอด ใครสนใจลองกดกันได้บ่อยๆจะได้หายปวดหลัง


เขียนโดย แพทย์จีน ดร เยาวเกียรติ เยาวพันธุ์กุล



ดูแลสุขภาพก่อนจะเป็นโรค
แนะนำแอ๊ดไลน์ติดตามสาระดีดี ส่งตรงถือมือคุณเลย
หรือ
นัดเข้ารักษาหรือให้คำปรึกษาสุขภาพกับหมอจีนได้ที่ไลน์นะครับ 
line @dr_tee 👉🏻  
คลิ๊ก >>> https://goo.gl/X8j3e7
C

ติดตาม เพจfacebook หมอตี้ได้ที่  ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม
https://bit.ly/2xptZMh

ประจำ เจินฟู่คลินิกการแพทย์แผนจีน 
เปิดทุกวันอังคาร พฤหัส เสาร์ อาทิตย์ เวลา 18.00-21.00 (เข้ามาตรวจหรือรักษา แนะนำนัดก่อนทุกครั้ง)
เพจ>> https://bit.ly/2Q2qdPd

Google map โลเคชั่น
เจิน ฟู่ คลินิก แพทย์แผนจีน
เลขที่ 173   ถนนโชคชัย4 ซอย18 หมู่บ้านโอษธิศ3 แยก10 เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 
https://g.co/kgs/vqqe1v

ติดตามอ่าน คลังบทความเกี่ยวกับแพทย์จีนได้ ที่ 
🎉 http://www.dr-tee.com

✅instargram : yaowakiat

✅ช่องยูทูป : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม 
https://bit.ly/2Q12MFX

✅กลุ่มFacebook สุขภาพดี สไตล์หมอจีน
https://bit.ly/2PZGVyK

https://www.facebook.com/groups/1412208708920279/?ref=share

✅กลุ่ม Line :แบ่งปันความรู้>>"แบ่งปันความรู้สุขภาพ >>หมอตี้" โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้
https://bit.ly/2Q0WhTw

#หมอตี้ #รักษาไต #ไตวาย #ไตเสื่อม  #สมุนไพรจีน #ยาจีน #หมอแมะ #ฝังเข็ม #ฝังเข็มรักษาโรค  #ไตพร่อง #ไตอ่อนแอ #หมอจีนรักษาไต #โรคต่อมลูกหมากโต #โรคภูมิแพ้ #ฉี่ค้าง #ฉี่กระปิดกระปอย #ฉี่ไม่สุด #นอนไม่หลับ  #เบาหวาน  #ปวดหัว #เวียนหัว  #เหนื่อยง่าย #อ่อนเพลีย #บำรุงร่างกาย #แพทย์ทางเลือก #แพทย์จีน #หมอจีน #เจินฟู่คลินิกการแพทย์จีนแผน #โชคชัย4  #คนขี้หนาว #คนขี้ร้อน #การ์ตูนหมอจีน

No comments

Powered by Blogger.