Header Ads

กัวซา คิดให้ดีก่อนทำ




กัวซา คือ รักษาโรคของจีนแต่โบราณโดยใช้อุปกรณ์เฉพาะที่มีลักษณะโค้งมนมากดและขูดตามส่วนต่าง  ของร่างกาย คนจีนสมัยก่อนชอบใช้ แก้ว ชาม ช้อน อุปกรณ์ในห้องครัว เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด เชื่อกันว่ากัวซาอาจช่วยล้างพิษในร่างกาย แก้ปวดเมื่อย จากการทำงาน และเพิ่มพลังชีวิต ต้านการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลายชนิด เช่น ปวดคอ ปวดหลัง

ถึงแม้กัวซาส่งผลดีต่อสุขภาพ และมีหลายประเทศนิยมทำกัน แต่ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงถึงกลไกการทำงานที่ชัดเจนของกัวซาว่าช่วยรักษาโรคได้อย่างไร จึงยังไม่อาจยืนยันประสิทธิภาพทางการรักษาที่แท้จริงของกัวซาได้ แต่ในแพทย์แผนจีน มีหลักฐานตั้งแต่สมัยโบราณ และสืบทอด รุ่นต่อรุ่น สวนใหญ่นิยมทำกันทั่วไป เพราะถูก และรักษาด้วยตัวเองได้ 

วิธีการทำกัวซา 

การทำกัวซาเริ่มต้นด้วยการทาน้ำมันลงบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการ จากนั้นหมอจีนจะใช้อุปกรณ์กัวซาที่มีลักษณะโค้งมน ผิวเรียบ เป็นก้อนหรือเป็นแผ่นบาง อาจมีด้ามจับขนาดพอดีมือ ซึ่งทำมาจากวัสดุหลากชนิด เช่น เซรามิก หยก ไม้หรือเขาสัตว์ นำไปกดและขูดผิวบริเวณนั้นเป็นจังหวะสั้นยาวซ้ำ  เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดของเนื้อเยื่ออ่อน ส่วนมากนิยมทำกัวซาบริเวณลำคอ แขน แผ่นหลัง ก้น สะโพก และขา หรือบางคนอาจทำที่ใบหน้า โดยเชื่อว่าอาจช่วยให้ผิวกระชับขึ้น และหน้าใสได้ด้วยเช่นกัน 

ความเชื่อเกี่ยวกับประโยชน์ของกัวซา


ประโยชน์ของกัวซาไว้ ดังนี้ อาการเป็นไข้ปวดหัว ตัวร้อน โรคกระเพาะอาการตกหมอน ปวดข้อ ปวดหัวไหล่ ปวดเอวเนื่องจากกล้ามเนื้อเคล็ดกล้ามเนื้อเกร็งรักษาได้ และยัง


ช่วยลดอาการปวดปวดกล้ามเนื้อ 

  • จากการทดลองโดยมีผู้เข้าร่วมการทดลองซึ่งล้วนแต่มีสุขภาพดี 11 คน พบว่า การทำกัวซาเป็นเวลา 25 นาทีช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ โดยอาสาสมัครทดลองเพศหญิงตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่าเพศชาย และไม่เกิดผลข้างเคียงใด  แต่งานทดลองนี้เป็นเพียงการศึกษานำร่องขนาดเล็กเท่านั้น จึงจำเป็นต้องค้นคว้าประสิทธิภาพที่ชัดเจนของกัวซาเพิ่มเติมต่อไป
  • จากการศึกษาพบว่า หลังจากรักษาด้วยกัวซา 1 ครั้ง ผู้ที่มีอาการปวดต้นคอเรื้อรังมีอาการดีขึ้นมากกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยแผ่นแปะบรรเทาอาการปวด แต่ผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นเพียงการบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นเท่านั้น ควรมีการศึกษาประสิทธิผลของกัวซาในระยะยาวต่อไป

  • ช่วยลดการปวดหลัง 
  • จากการศึกษานำร่องชิ้นหนึ่ง พบว่าผู้สูงอายุที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างชนิดเรื้อรังมีอาการดีขึ้นหลังจากรักษาด้วยกัวซา อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุ และอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้นานกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาโดยใช้แผ่นประคบร้อน อย่างไรก็ตาม งานค้นคว้านี้เป็นผลจากการศึกษานำร่องเท่านั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาประสิทธิภาพของกัวซาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  • ช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน 
  • จากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีอาการก่อนมีประจำเดือน เมื่อรับการรักษาด้วยกัวซาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที ร่วมกับการรักษาแบบมาตรฐานเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออก ปวดศีรษะ อาการชาคล้ายเข็มทิ่ม นอนไม่หลับ เมื่อยล้า หงุดหงิด และซึมเศร้า น้อยกว่าผู้ที่รักษาแบบมาตรฐานเพียงอย่างเดียว และยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย


ผลข้างเคียงของการทำกัวซา

กัวซาเป็นแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่งที่มีความปลอดภัยหากทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลที่สะอาดเหมาะสม แต่ไม่ควรใช้กัวซาแทนการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน และควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจทำกัวซาเสมอ


อย่างไรก็ตาม วิธีการทำกัวซาใช้อุปกรณ์กดและขูดตามร่างกาย จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ไม่ค้องกลัว เพราะไม่ได้มีปัญหาอะไร 

เช่น


เกิดรอยช้ำตามผิวหนัง โดยปกติรอยช้ำเหล่านั้นจะดีขึ้นหลังทำกัวซาไปแล้วประมาณ 3-7 วัน แต่หากเป็นรอยฟกช้ำร่วมกับมีอาการปวด มีไข้ หรืออาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา


ผิวไม่เรียบ มีรอยหยักหรือรอยบุ๋มเนื่องจากผิวหนังปุดขึ้นเกิดจากการขับพิษของผิวหนัง 



ถ้าอยากทำกัวซาควรปรึกษาใคร 

ก่อนตัดสินใจทำกัวซา ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่เปิดให้บริการทำกัวซา หรือแพทย์ที่ทำการรักษาเพราะกัวซาควรทำโดยแพทย์ฝังเข็มหรือผู้ประกอบโรคศิลป์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง ลดความเสี่ยงการเกิดแผลฟกช้ำ อาการปวดอย่างรุนแรงหลังทำกัวซา และหากเป็นสถานพยาบาลที่ไม่ถูกสุขอนามัยหรือไม่ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ก่อน อาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคติดต่อทางเลือด เช่น โรคเอดส์จากการติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น


ผู้ป่วยที่มีอาการดังต่อไปนี้ ไม่ควรทำกัวซา

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว มีอาการป่วยอย่างเรื้อรังหรือรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำกัวซาเสมอเพราะกัวซาอาจไม่ส่งผลดีแก่ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่กำลังรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่เพิ่งผ่าตัดในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา


หลายท่านคงสงสัยว่า การเกิดรอยซาแดงๆจาก

การทากวาซาจะทาให้ผิวหนังเสียหรือไม่

ตรงน้ีทุกท่านไม่ต้องกังวลเลยรอยซาแดงๆบนผิวหนัง เป็นเลือดออกใต้ผิวหนัง ดูแล้วอาจจะน่ากลัวแต่ความจริงแล้วไม่ได้ทำให้ ผิวหนังเสียหรือทำลายผิวหนังเลยรอยขุดซาจุดแดงๆจะเป็นสีแดงหรือสีแดงม่วงนั้น จะสะท้อนให้เห็นถึงอาการท่ีป่วย ว่าหนักเบาแค่ไหนถ้าหากอาการป่วยหนักมากมีรอยซาแดงๆจะออกมามาก และมีสีเข้ม แต่ถ้าอาการป่วยค่อนเบา รอยซาแดงๆจะออกมาน้อยนิด และมีสีอ่อน โดยทั่วไปแล้วรอยซาแดงๆจะค่อยๆจางหายไปภายใน 3-7 วันจึงไม่ต้องเป็นกังวลอะไร การกวาซาเป็นวิธีที่ สามารถทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดน้ันๆดีข้ึน และทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นสวยขึ้นอีกด้วย


เขียนโดย ดร แพทย์จีน เยาวเกียรติ เยาวพันธุ์กุล


ดูแลสุขภาพก่อนจะเป็นโรค
แนะนำแอ๊ดไลน์ติดตามสาระดีดี ส่งตรงถือมือคุณเลย
หรือ
นัดเข้ารักษาหรือให้คำปรึกษาสุขภาพกับหมอจีนได้ที่ไลน์นะครับ 
line @dr_tee 👉🏻  
คลิ๊ก >>> https://goo.gl/X8j3e7
C

ติดตาม เพจfacebook หมอตี้ได้ที่  ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม
https://bit.ly/2xptZMh

ประจำ เจินฟู่คลินิกการแพทย์แผนจีน 
เปิดทุกวันอังคาร พฤหัส เสาร์ อาทิตย์ เวลา 18.00-21.00 (เข้ามาตรวจหรือรักษา แนะนำนัดก่อนทุกครั้ง)
เพจ>> https://bit.ly/2Q2qdPd

Google map โลเคชั่น
เจิน ฟู่ คลินิก แพทย์แผนจีน
เลขที่ 173   ถนนโชคชัย4 ซอย18 หมู่บ้านโอษธิศ3 แยก10 เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 
https://g.co/kgs/vqqe1v

ติดตามอ่าน คลังบทความเกี่ยวกับแพทย์จีนได้ ที่ 
🎉 http://www.dr-tee.com

✅instargram : yaowakiat

✅ช่องยูทูป : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม 
https://bit.ly/2Q12MFX

✅กลุ่มFacebook สุขภาพดี สไตล์หมอจีน
https://bit.ly/2PZGVyK

https://www.facebook.com/groups/1412208708920279/?ref=share

✅กลุ่ม Line :แบ่งปันความรู้>>"แบ่งปันความรู้สุขภาพ >>หมอตี้" โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้
https://bit.ly/2Q0WhTw

#หมอตี้ #รักษาไต #ไตวาย #ไตเสื่อม  #สมุนไพรจีน #ยาจีน #หมอแมะ #ฝังเข็ม #ฝังเข็มรักษาโรค  #ไตพร่อง #ไตอ่อนแอ #หมอจีนรักษาไต #โรคต่อมลูกหมากโต #โรคภูมิแพ้ #ฉี่ค้าง #ฉี่กระปิดกระปอย #ฉี่ไม่สุด #นอนไม่หลับ  #เบาหวาน  #ปวดหัว #เวียนหัว  #เหนื่อยง่าย #อ่อนเพลีย #บำรุงร่างกาย #แพทย์ทางเลือก #แพทย์จีน #หมอจีน #เจินฟู่คลินิกการแพทย์จีนแผน #โชคชัย4  #คนขี้หนาว #คนขี้ร้อน #การ์ตูนหมอ


No comments

Powered by Blogger.