Header Ads

10อาการ โรคแพนิคกับหมอจีน







โรคแพนิคมักพบได้บ่อยในวัยรุ่นตอนปลายหรือผู้ที่ย่างเข้าวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยผู้หญิงจะป่วยมากกว่าผู้ชาย
โดยผู้ป่วยโรคแพนิคจะเกิดอาการ ดังนี้

 1.หัวใจเต้นเร็ว

 2.หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ

 3. หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้

 4.เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้

 5. เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

 6. รู้สึกหอบและเจ็บหน้าอก

 7.รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือหนาวขึ้นมาอย่างกะทันหัน

 8.เกิดอาการเหน็บคล้ายเข็มทิ่มที่นิ้วมือหรือเท้า

 9. วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าจะตาย รวมทั้งรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้
     กังวลว่าจะมีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้นในอนาคต

10. หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์อันตรายที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวในอดีต

ในแพทย์จีน เรียกว่า โรคกังวล การรักษาเน้นบำรุงตับ ขับเคลื่อนลมปราณ ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ควรรับประทานยาแผนปัจจุบัน และยาจีนควบคู่กับการฝังเข็มจะเห็นผลดี  แต่ก็ไม่เสมอไป

การรักษาโรควิตกกังวลในแพทย์แผนจีน สามารถรักษาได้หลายแบบ ตามการวินิจฉัยโรคของแพทย์ผู้ตรวจ




แพทย์จีนที่ทำการรักษา จะเลือกใช้จุดบนเส้นลมปราณตู督 และจุดฝังเข็มที่อยู่บริเวณศีรษะซึ่งสัมพันธ์กับสมองอย่างใกล้ชิด แสดงให้เห็นถึงแนวคิดสำคัญในการรักษาโรคจิตเวชวิตกกังวลโดยการปรับสมดุลการทำงานของสมอง

การรักษาและดูแลด้วยศาสตร์แผนจีน เป็นการดูแลรักษาแบบองค์รวม เราจะต้องดูว่าโรคนี้เป็นมาจากไหน

" รักษาจากหัวใจ : 从心论治 "
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีแนวคิดว่า หัวใจเป็นจ้าวแห่งอวัยวะภายใน เป็นที่อยู่ของจิตใจ พื้นฐานของโรควิตกกังวลอยู่ที่หัวใจ หัวใจควบคุมจิตใจ หน้าที่การทำงานของเสินหัวใจต้องอาศัยเลือดของหัวใจหล่อเลี้ยงและชี่ของหัวใจในการผลักดัน(สูบฉีด) เลือดและชี่หัวใจไม่พอทำให้จิตใจไม่กระปรี้กระเปร่า เสินไม่อยู่ในที่พำนัก

รักษาจากไต (从肾论治)
ตำแหน่งพยาธิสภาพของโรควิตกกังวลอยู่ที่สมอง แต่ไตและสมองมีการเชื่อมสัมพันธ์การอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ ไตเก็บกักสารจิง สารจิงสร้างไขกระดูก ไขกระดูกเติมเต็มสมอง สมองเป็นทะเลแห่งไขกระดูก 


การเลือกใช้จุดฝังเข็ม นอกจากเส้นลมปราณตู เส้นหัวใจ เส้นเยื่อหุ้มหัวใจ เส้นไตที่ได้กล่าวในข้างต้นแล้ว พบว่า ยังมีการเลือกใช้จุดฝังเข็มบนเส้นเท้าเจวียอินตับ เส้นเท้าหยางหมิงกระเพาะอาหาร เส้นเท้าไท่อินม้ามและเส้นมือไท่อินปอด


 • จุดเน่ยกวน内关穴 (NeiGuan) เป็นจุดลั่วของเส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ


 • จุดจู๋ซานหลี่足三里 (ZuSanLi) เป็นจุดเหอของเส้นลมปราณเท้าหยางหมิงกระเพาะ



 • จุดไท่ชง太冲 (TaiChong) เป็นจุดหยวนของเส้นลมปราณตับ



 • จุดไท่ซี 太溪(TaiXi) เป็นจุดหยวนของเส้นลมปราณเท้าเส้าอินไต



 • จุดเลี่ยเชวีย列缺 (LieQue) เป็นจุดจิงของเส้นลมปราณมือไท่อินปอด



 • จุดซานอินเจียว (SanYinJiao) เป็นจุดตัดของเส้นลมปราณตับ ม้ามและไต





การวินิจฉัยและรักษาตามกลุ่มอาการ
"กลุ่มอาการชี่ตับติดขัด"
อาการแสดงทางคลินิก : อารมณ์แปรปรวน มีความเครียด กังวล ชอบถอนหายใจ ปวดแน่นชายโครง ตำแหน่งปวดไม่แน่นอน เรอ ไม่สบาย ลิ้นซีดแดง ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรตึง (เสียน)

หลักการรักษา : ปรับกระจายชี่ตับ คลายเครียด สลายการติดขัด




"กลุ่มอาการชี่ติดขัดกลายเป็นไฟ"
อาการแสดงทางคลินิก : ใจสั่น นอนไม่หลับ ฉุนเฉียว โกรธง่าย แน่นชายโครงและหน้าอก ปากขม คอแห้ง หรือปวดศีรษะ ตาแดง หูอื้อหรือ เชาจ๋า (嘈杂) เรอเปรี้ยว ปัสสาวะเหลืองเข้ม ท้องผูก ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นเหลือง ชีพจรตึงเร็ว (เสียนซู่)

หลักการรักษา : ปรับกระจายชี่ตับ คลายเครียด ระบายไฟตับ เสริมด้วยการสงบเสิน

การเลือกใช้จุด : อิ้นถาง、ไป่หุ้ย、ไท่ชง、เสียซี、อันเหมียน、เน่ยกวน、เสินเหมิน






"กลุ่มอาการเสินหัวใจไม่สงบ"
อาการแสดงทางคลินิก : ใจสั่น โกรธง่าย นั่งยืนไม่เป็นสุข  หงุดหงิด นอนไม่หลับ มือสั่นทั้งสองข้าง นอนได้น้อย ฝันมาก ขี้ตกใจ หายใจสั้น เพลีย สมาธิสั้น ความจำถดถอย ลิ้นซีดแดง ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรเล็กละเอียด
  
การรักษาด้วยการฝังเข็ม
หลักการรักษา : สงบเสินทำให้นิ่ง หล่อเลี้ยงหัวใจสงบอารมณ์

การเลือกใช้จุด : ซินซู、ผีซู、เน่ยกวน、อันเหมียน、เสินเหมิน

การรักษาด้วยยาจีน
ตำรับยา : ผิงปู่เจิ้นซินตัน ลดเพิ่ม 平补镇心丹

ยาที่ใช้ : 熟地黄สูตี้ 10 กรัม , 麦冬ม่ายตง 10 กรัม , 天冬เทียนตง 10 กรัม , 党参ต่างเซิน 10 กรัม , 茯苓ฝูหลิง 10 กรัม , 远志หยวนจื้อ 15 กรัม , 酸枣仁ซวนเจ่าเหริน 15 กรัม ,  龙齿หลงฉือ 15 กรัม , 五味子อู่เหว่ยจึอ 15 กรัม , 甘草กานเฉ่า 3กรัม





"กลุ่มอาการเสมหะและความร้อนขึ้นมากระทบ"
อาการแสดงทางคลินิก : หงุดหงิด โกรธง่าย ใจสั่น ตกใจ หวาดกลัว  ไอ เสมหะมาก สีเหลืองเหนียว คลื่นไส้ นอนน้อย ฝันมาก แน่นหน้าอกและชายโครง ปากขม ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นเหลืองเหนียว ชีพจรลื่นเร็ว (ฮว่าซู่)

การรักษาด้วยการฝังเข็ม
หลักการรักษา : สลายเสมหะ ดับร้อน สงบเสิน

การเลือกใช้จุด : ซื่อเสินชง เหอกู่ เฟิงหลง ผีซู จู๋ซานหลี่ เฟิงฉือ ชวีฉือ

การรักษาด้วยยาจีน
ตำรับยา :หวงเหลียนเวินต่านทัง ลดเพิ่ม 黄连温胆汤

การใช้ยา : 黄连หวงเหลียน 10 กรัม , 竹茹จู๋หรู 10 กรัม , 枳实 จื่อสือ 9 กรัม, 半夏 ป้านเซี่ย 9 กรัม , 橘红 จวี๋หง 10 กรัม ,  茯苓ฝูหลิง 10 กรัม , 生姜ขิงสด 3 แผ่น , 甘草กานเฉ่า 6 กรัม





"กลุ่มอาการอินพร่องมีไฟลุกโชน"
อาการแสดงทางคลินิก : ใจสั่น ไม่สงบ หงุดหงิด นอนน้อย เวียนศีรษะ หูอื้อ ขี้ลืม ปวดเมื่อยเอวเขาอ่อน ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน ปากแห้ง สารน้ำมีน้อย ลิ้นแดงเข้ม ชีพจรละเอียดเร็ว (ซี่ซู่)

การรักษาด้วยการฝังเข็ม
หลักการรักษา : เสริมอินดับร้อน บำรุงหัวใจ สงบเสิน

การเลือกใช้จุด : ต้าหลิง ซานอินเจียว ไท่ซี

การรักษาด้วยยาจีน
ตำรับยา :กุยผีทัง归脾汤

การใช้ยา : 白术ไป๋จู๋ 15 กรัม , 当归ตังกุย 15 กรัม ,茯苓 ฝูหลิง15 กรัม ,黄芪 หวงฉี 15กรัม ,  龙眼肉หลงเหยียนโหร่ว 15กรัม ,远志 หยวนจื้อ 15กรัม ,酸枣仁 ซวนเจ่าเหริน 15 กรัม , 人参 เหรินเซิน 10 กรัม , 木香มู่เซียง 10 กรัม ,甘草 กานเฉ่า 6 กรัม


ยังมีจุดที่เหมาะกับการรักษา





 •  四神聪 si shen cong ซื่อเสินชงเป็นจุดนอกระบบ ช่วยเสริมสรรพคุณของจุดไป่หุ้ยในการยกกระจายหยางบริสุทธิ์ ทำให้สมองปลอดโปร่ง สงบเสิน เน่ยกวนเป็นจุดของเส้นลมปราณมือเจว่อินเยื่อหุ้มหัวใจ มีสรรพคุณปรับสมดุลชี่ดูแลเสิน






 •  神们 shen men จุดเสินเหมินสังกัดเส้าอิน เป็นจุดหยวนของเส้นลมปราณหัวใจ เป็นประตูเข้าออกของชี่หัวใจ  หัวใจเก็บกักเสิน ฝังเข็มที่จุดเสินเหมินสามารถสงบหัวใจและเสินได้





 •  三阴交   shan yin jiao ซานอินเจียวสังกัดเส้นลมปราณเท้าไท่อินม้าม เส้นเท้าทั้งสามตัดกันที่จุดนี้ ฝังโดยใช้วิธีระบายเพิ่มด้วยการรมยาสามารถปรับสมดุลม้ามและกระเพาะอาหาร เสริมบำรุงตับและไต บำรุงไขสมอง สรรพคุณหลักคือ ทำให้นิ่ง สงบเสิน เสริมบำรุงม้ามและไต สงบเสิน ทำให้สมองปลอดโปร่ง




No comments

Powered by Blogger.